วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาหารภาคอีสาน

            คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ และแมลงต่างๆ หลายชนิด
อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง ดังนั้นตำรับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีความหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก ในบรรดาตำรับอาหารภาคอีสานนั้น สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า จัดว่าเป็นเครื่องปรุงที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น น้ำปลาร้าจึงมีบทบาทต่อการประกอบอาหาร เกือบทุกตำรับของอาหารอีสานก็ว่าได้ ซึ่งทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นอาหารเด่นที่ทุกคนต้องรู้จัก ซึ่งมีตำนาน ผักพื้นบ้านและตำรับอาหารบางชนิดดังนี้
แจ่วบอง
แจ่วบอง เป็นเครื่องจิ้ม ที่มีรสชาติเข้มข้น และแห้งกว่าแจ่วธรรมดา เพื่อให้เก็บไว้กินได้นาน โดยการเผาเครื่องปรุงให้สุก รับประทานกับผักตามหนองน้ำ เถียงไร่ เถียงนา เช่น ผักบุ้ง ผักแว่น ผักตับเต่า เป็นต้น
ส้มตำไทย
เป็นอาหารว่างของชาวภาคกลาง ที่มีพื้นเพมาจากภาคอีสาน รสชาติของส้มตำไทย จะไม่ออกรสเค็มเหมือนส้มตำปูปลาร้า แต่จะออกรสหวาน เปรี้ยว เค็ม 3 รส
ลาบหมู
วิธีทำเหมือนลาบวัว เพียงแต่เปลี่ยนเนื้อวัวเป็นเนื้อหมูแทน
ไก่ย่าง
นำไก่สับเป็นชิ้นหนาขนาดฝ่ามือ แล้วนำไปคลุกกับเครื่องที่โขลกคือ กระเทียม ตะไคร้ เกลือป่น ปรุงรสด้วยน้ำปลา ซีอิ้วขาว พริกไทย หมักทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที นำไปย่างบนเตาถ่านให้สุก ควรใช้ไฟอ่อน ๆ ในการย่าง เพราะจะทำให้เนื้อไก่ไม่ไหม้ก่อนสุก และเนื้อไก่นุ่มด้วย รับประทานกับน้ำจิ้ม ที่ทำจากพริกป่น กระเทียม น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะนาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น